พ.ศ. 2530-2539 ทศวรรษแห่งการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า
ปี 2530 บาทหลวงวุฒิเลิศ แห่ล้อม เป็นผู้รับใบอนุญาต – ครูใหญ่ วันที่ 8 มิถุนายน 2530 ถอน บาทหลวงเอกพร นิตตะโย เพื่อไปศึกษาต่อ บรรจุบาทหลวงคมสันท์ ยันเจริญ เป็นผู้จัดการ มีครูทั้งสิ้น 74 คน จำนวนห้องเรียน 36 ห้อง จำนวนนักเรียนสำรวจวันสอบไล่ 1,748 คน เปิดสอนชั้น ป.1- ม. 3 |
ปี 2531 บาทหลวงวุฒิเลิศ แห่ล้อม เป็นผู้รับใบอนุญาต – ครูใหญ่ บาทหลวงคมสันท์ ยันต์เจริญ เป็นผู้จัดการ จำนวนครู 75 คน จำนวนห้องเรียน 36 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนสำรวจหลังวันสอบไล่ 1,776 คน เปิดสอนชั้น ป.1- ม. 3 |
ปี 2532 วันที่ 17 พฤษภาคม 2532 ถอน บาทหลวงวุฒิเลิศ แห่ล้อม ออกจากครูใหญ่ ย้ายไปอยู่โรงเรียน ยอแซฟอุปถัมภ์ บรรจุ บาทหลวงคมสันท์ ยันต์เจริญ เป็นครูใหญ่ |
วันที่ 5 กรกฎาคม 2532 ถอน บาทหลวงวุฒิเลิศ แห่ล้อม ออกจากผู้รับใบอนุญาต บรรจุแต่งตั้ง บาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย เป็นผู้รับใบอนุญาต วันที่ 19 กรกฎาคม 2533 ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลง เพิ่มห้องเรียนและอัตราความจุนักเรียน สำรวจสิ้นปีการศึกษา 2532 จำนวน 1,763 คน จำนวนครู 74 คน จำนวนห้องเรียน 36 ห้อง เปิดสอนชั้น ป.1-ม. 3 |
ปี 2533 วันที่ 15 พฤษภาคม 2533 ถอน บาทหลวงคมสันท์ ยันต์เจริญ ออกจากครูใหญ่ บรรจุแต่งตั้ง บาทหลวงศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย เป็นครูใหญ่วันที่ 22 พฤษภาคม 2533 อนุญาตให้ บาทหลวงศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย เป็นครูใหญ่ |
วันที่ 12 มิถุนายน 2533 ถอน บาทหลวงคมสันท์ ยันต์เจริญ ออกจากผู้จัดการ- ครูใหญ่ บรรจุ บาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย เป็นผู้จัดการ วันที่ 20 สิงหาคม 2533 ได้รับใบอนุญาตเลขที่ กส.42/2533 วันที่ 24 สิงหาคม 2533 ได้รับใบอนุญาตเลขที่ 891/2533 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2533 อนุญาตให้ ลดห้องเรียนเด็กเก่า จำนวน 5 ห้อง และเพิ่มห้องเรียน 10 ห้อง ในชั้นที่ 1 และ 4 ของอาคารหลังที่ 2 รวมมีอาคารเรียน 40 ห้องเรียน รับนักเรียนได้สูงสุด 2,132 คน วันที่ 31 สิงหาคม 2533 รับใบอนุญาตเลขที่ กส.35/2533 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2533 อนุญาตให้ถอน บาทหลวงคมสันท์ ยันต์เจริญ ออกจากหน้าที่ผู้จัดการ รับใบอนุญาตเลขที่ กส.54/2533 ลงวันที่ 23สิงหาคม 2533 อนุญาตให้ บาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย เป็นผู้จัดการ สรุป จำนวนครู 73 คน จำนวนห้องเรียน 37 ห้องเรียน จำนวนอาคารเรียน ตึก 4 ชั้น 3 หลัง จำนวน นักเรียนสำรวจก่อนสอบไล่ จำนวน 1,862 คน ปรับปรุงห้องประชุมชั้น 4 อาคารหลังที่ 2 เป็นห้องเรียน |
ปี 2534 วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 รับใบอนุญาตเลขที่ กส.802/2534 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2534 อนุญาต ให้เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 ในอัตราใหม่ วันที่ 14 มิถุนายน 2534 ยื่นคำร้องแต่งตั้ง นายเกียรติศักดิ์ วิสูตรรุจิรา รักษาการแทนอาจารย์ใหญ่ ซึ่งเดินทางไปดูงานต่างประเทศ |
วันที่ 17 มิถุนายน 2534 รับใบอนุญาตเลขที่ กส.954/2534 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2534 อนุญาตให้ นายเกียรติศักดิ์ วิสูตรรุจิรา รักษาการณ์แทนอาจารย์ใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2534 ย้ายเสาธงจากหน้าตึกนิรมล ไปอยู่ตรงกลางสนามฟุตบอลและสนามบาส เปลี่ยนชื่อตึกมารีนิรมล เป็นตึก “ฟาติมา” ใส่ชื่อตึกอาคารหลังที่ 2 เป็นตึก “มารีอา” และตั้งชื่อตึกอาคารหลังที่ 3 เป็นตึก “นิรมล” จัดงานฉลองพิธีเปิดอาคาร “นิรมล” |
วันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดยเชิญ พณฯ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานพิธีเปิดและเสกอาคาร ปรับปรุงอาคารฟาติมา ชั้นที่ 3 ห้องริมสุดท้ายติดกับอาคารมารีอา เป็นห้องปฏิบัติการทางภาษา (Sound Lab) ปรับปรุงห้องฝ่ายปกครองชั้นล่างตึกฟาติมาด้านใน เป็นห้องศูนย์คอมพิวเตอร์ และย้ายห้อง ฝ่ายปกครองด้านในออกมาแทนห้องสหการ รื้อถอนโรงพละศึกษาด้านหน้าโรงเรียน หน้าอาคารนิรมลออก ปรับปรุงสนามฟุตบอล โดยปลูกหญ้าเต็มสนาม บาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย เป็นผู้รับใบอนุญาต – ผู้จัดการ บาทหลวงวิทยา คูวิรัตน์ เป็นผู้ช่วยผู้จัดการและบาทหลวงศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย เป็น ครูใหญ่ มีจำนวนห้องเรียน 38 ห้อง จำนวนนักเรียน 1,935 คน จำนวนครู 65 คน (บรรจุแล้ว สำรวจเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2534) |
ปี 2535 ปรับปรุงเวทีโรงประชุม ด้านที่ติดกับห้องน้ำข้างตึกฟาติมา ต่อกำแพงด้านข้างโรงประชุมด้าน ติดกับตลาดพญาไทให้สูงกว่าเดิม ขยายพื้นที่จอดรถข้างหน้าบ้านพักคนงาน จัดตกแต่งปรับปรุงห้องเรียนชั้น 2 ตึกฟาติมา ให้เป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้อง และใช้เปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์ระดับชั้น ป.5- ม. 3 โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ คือ อาจารย์นิพนธ์ ธิราศักดิ์ และเป็นปีแรกที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในฝ่าย ต่าง ๆ ของโรงเรียน วันที่ 19 มีนาคม 2535 ได้รับใบอนุญาตเลขที่ กส.56/2536 จากเลขาธิการ สช. ให้ใช้อาคารตึก 4 ชั้น 3 หลัง จำนวน 52 ห้องเรียน ให้รับนักเรียนได้สูงสุด 2,792 คน พื้นที่บริเวณโรงเรียนทั้งหมด 11 ไร่ 80 ตารางวาตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2535 มีจำนวนห้องเรียน 40 ห้อง จำนวนนักเรียน 2,057 คน เปิดสอนชั้น ป.1 – ม. 3 |
ปี 2536 ปรับปรุงบ้านพักนักการ เป็นร้านอาหารบริเวณโรงประชุมด้านทางเข้าโรงเรียน รื้อถอนห้องสุขาเดิมด้านข้างอาคารฟาติมาทั้ง 2 หลัง เพื่อเตรียมการสร้างห้องสุขาให้นักเรียน ครูและนักการใช้ต่อไป เปิดสอนชั้นป.1- ม. 3 จำนวนนักเรียน 2,163 คน จำนวนห้องเรียน 42 ห้อง จำนวนครูที่บรรจุแล้ว 89 คน (สำรวจวันที่ 10 มิถุนายน 2536) มีอาคารเรียนเป็นตึก 4 ชั้น 3 หลัง ตึกฟาติมา ตึกมารีอา และตึกนิรมล บาทหลวงเอกพงษ์ พงษ์สูงเนิน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ และบาทหลวงศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย เป็นครูใหญ่ |
ปี 2537 บาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย ย้ายไปรับตำแหน่งที่วัดเซนต์หลุยส์ แต่งตั้ง บาทหลวงชุมภา คูรัตน์ เป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมา และผู้รับใบอนุญาต-ผู้จัดการ โรงเรียน ตามเอกสารจาก สช. ดังนี้ วันที่ 11 กรกฎาคม 2537 รับใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ เลขที่ กส.29/2537 ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2537 ใบอนุญาตเลขที่ กส.856/2537 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2537 อนุญาตให้เปลี่ยนผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต จากเดิม บาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย เป็น บาทหลวงชุมภา คูรัตน์ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2537 บาทหลวงศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย เป็น ครูใหญ่ |
เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียน 2,205 คน (สำรวจวันที่ 10 มิถุนายน 2537) จำนวนห้องเรียน 44 ห้อง (เพิ่มจากปี 2536 อีก 2 ห้องเรียน คือ ป.6/6 และ ม.2/3) จำนวนครูที่บรรจุแล้ว 90 คน |
ปี 2538 บาทหลวงศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย ย้ายไปรับหน้าที่ใหม่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา และถอนออกจากหน้าที่ครูใหญ่โรงเรียนแม่พระฟาติมา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 บาทหลวงชุมภา คูรัตน์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตามใบอนุญาตเลขที่ กส.48/2538 ใน สช.8 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2538 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2539 และเป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต-ผู้จัดการ โรงเรียนแม่พระฟาติมา แต่งตั้งบาทหลวงมาโนช สมสุข เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ เปิดสอนวิชาสามัญ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนสำรวจเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2538 รวมทั้งสิ้น 2,206 คน แบ่งเป็นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 รวม 1,872 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 334 คน จำนวนห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 45 ห้อง ชั้น ป.1-6 แบ่งเป็นชั้นละ 6 ห้องเรียน รวมห้องเรียนชั้น ม.1-3 แบ่งเป็นชั้นละ 3 ห้องเรียน รวม 9 ห้อง จำนวนครูรวมทั้งสิ้น 97 คน ครูชาย 16 คน ครูหญิง 81 คน |
ปี 2539 บาทหลวงชุมภา คูรัตน์ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต-ผู้จัดการ และครูใหญ่ บาทหลวงมาโนช สมสุข เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ เปิดสอนวิชาสามัญ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนสำรวจเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2539 รวมทั้งสิ้น 2,216 คน แบ่งเป็นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 จำนวน 1,874 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 342 คน จำนวนห้องเรียนรวมทั้งสิ้น 45 ห้อง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 แบ่งเป็นชั้นละ 3 ห้องเรียน รวม 9 ห้อง มีอาคารเรียน 3 หลัง คือ ตึกฟาติมา ตึกมารีอาและตึกนิรมล จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนครูรวมทั้งสิ้น100 คน ครูชาย 18 คน ครูหญิง 82 คน |