พ.ศ. 2500 – 2509 ทศวรรษแห่งการวางรากฐาน
ปี พ.ศ. 2500 คุณพ่อยวงบัปติสตา อาแมสตอย เจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมา ได้พิจารณาเห็นว่าสภาพท้องถิ่นในบริเวณย่านดินแดงนี้ เป็นสถานที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่มาก เพราะทางราชการได้จัดสร้างอาคารสงเคราะห์ขึ้น ประกอบกับทางวัดแม่พระฟาติมาซึ่งสร้างขึ้นใหม่ มีเนื้อที่กว้างขวางและได้แบ่งให้เช่าปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนอาศัย ย่อมจะมีผู้คนทวีมากขึ้น และพิจาณาเห็นว่าขณะนั้น โรงเรียนในละแวกดินแดงมีน้อยแห่ง ไม่เพียงพอต่อความจำเป็นของเด็กเป็นเหตุให้ผู้ปกครอง นักเรียนในท้องถิ่นได้รับความลำบากในการหาสถานศึกษาที่เรียน ใกล้บ้านให้กับบุตรหลาน คุณพ่อเจ้าอาวาส ท่านตระหนักเห็นความสำคัญทีควรจะอำนวยความสะดวกให้กับกุลบุตรกุลธิดาในย่านนี้และเป็นการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล จึงเห็นสมควรให้จัดตั้งโรงเรียนนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนแม่พระฟาติมา” อักษรย่อว่า “ม.พ.ฟ.”โดยเจ้าอาวาสได้มอบหมายให้ บาทหลวงเสวียง ศุระศรางค์ ลงนามเป็นเจ้าของโรงเรียน มี นายสิริ ชุณหสุวรรณ เป็น ผู้จัดการและครูใหญ่ เป็นสอนวิชาสามัญตั้งแต่ ชั้น ป.1-ป.4 รับนักเรียนได้รวม 340 คน รวม 9 ห้องเรียน โดยใช้สถานที่คือ อาคารเรียนไม้สองชั้น ซึ่งอยู่ในบริเวณ วัดแม่พระฟาติมา เป็นสถานศึกษา |
ปี 2501 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ได้ขออนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ขยายชั้นเรียนจากชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเปิดเพิ่มปีละชั้นเรียนในปีนี้เปิดสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รวม 11 ห้องเรียน รับนักเรียนได้ 445 คน |
ปี 2502 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น คุณพ่อ ย.บ.อาแมสตอย เจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมาและก่อตั้งโรงเรียน ได้อนุมัติให้กู้ยืมเงินมาสร้างอาคารเรียนเพิ่มอีก 1 หลัง เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว อยู่ด้านทิศเหนือของวัด มีจำนวนห้องเรียน 5 ห้อง (ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปหมดแล้ว เพราะทางราชการตัดถนนอโศก-ดินแดงผ่านเมื่อปี พ.ศ. 2513) รวมทั้งจำนวนห้องเรียน 16 ห้องเรียน รับนักเรียน 680 คน |
ปี 2503 บาทหลวงเสวียง ศุระศรางค์ ย้ายไปประจำที่วัดคาทอลิก ในจังหวัดนครสวรรค์ ได้มอบอำนาจหน้าที่ให้ นายสิริ ชุณหสุวรรณ รับตำแหน่งเจ้าของโรงเรียน บาทหลวง ย.บ.อาแมสตอย รับคำสั่งจากพระสังฆราชหลุยส์โชแรง ให้ไปประจำจำที่ประเทศสิงคโปร์ และให้บาทหลวงเอมอนต์ แวร์ดิแอร์ รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมา และดูแลโรงเรียนแทน ขออนุมัติขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นจนถึงชั้น ม.ศ.3 โดยเพิ่มปีละชั้นเรียน |
ปี 2504 ปรับปรุงโรงอาหารหลังเดิม เป็นอาคารเรียนหลังที่ 4 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมจำนวน 19 ห้องเรียน รับนักเรียนได้ 810 คน เปิดสอนชั้น ป.1 ถึงชั้น ม.ศ. 1 |
ปี 2505 ขอต่อเติมอาคารเรียนหลังที่ 3 ไปทางทิศตะวันออกเป็น 2 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนได้ 2 ห้องเรียนปรับปรุงห้องเรียนริมสุดท้ายด้านใต้ของอาคารเรียนหลังที่ 1 (เดิมเป็นห้องน้ำห้องส้วม) ใช้เป็นห้องเรียนอีก 1 ห้อง สรุปรวมปีนี้ ขยายเพิ่ม 3 ห้องเรียน รวมจำนวน 22 ห้องเรียน รับนักเรียนได้ 920 คน |
ปี 2506 เพิ่มเติมอาคารไม้ 2 ชั้น หลังที่ 1 ออกไปอีก 1 ห้อง ชั้นบน-ชั้นล่าง ปรับปรุงเป็นห้องพักครู-ห้องเรียน รวมจำนวน 25 ห้อง รับนักเรียนได้ 967 คน เปิดชั้นเรียนครบสาย ป.1 ถึง ม.ศ. 3 ปลายปีนี้ บาทหลวงแวร์ดิแอร์ ย้าย บาทหลวงมอริส ยอลี มาแทน |
ปี 2507 บาทหลวงมอริส ยอลี ได้ขอซิสเตอร์จากคณะพระหฤทัยมาช่วยควบคุมกิจการของโรงเรียน ทางคณะพระหฤทัยได้ส่งซิสเตอร์บุญแทน ผังรักษ์ มาช่วยดูแลกิจการโรงเรียน จำนวนห้องเรียน 25 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 1,024 คน |
ปี 2508 ต่อเติมอาคารหลังที่ 1 ยื่นไปทางทิศตะวันออกทั้ง 2 ชั้น ได้ 2 ห้อง ใช้เป็นห้องกิจกรรม ห้องพักครูห้องพยาบาล ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องทำงานของซิสเตอร์ รวมจำนวนห้องเรียน 26 ห้องเรียน รับนักเรียน ได้ 1,068 คน เปิดสอนชั้น ป.1 ถึง ม.ศ. 3 ซิสเตอร์บุญแทน ผังรักษ์ ย้าย ซิสเตอร์กุหลาบ นามวงศ์ มาแทน |
ปี 2509 ก่อสร้างโรงอาหาร ขยายต่อเติมเรือนไม้สองชั้น ชั้นบนใช้เป็นห้องพักของซิสเตอร์และคนงาน ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ในเดือนมิถุนายน ได้ยื่นคำร้องขอให้กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยาฐานะให้โรงเรียน ได้รับคำตอบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ให้ปรับปรุงอาคารเรียน ห้องสมุด ห้องพยาบาล ซิสเตอร์กุหลาบ นามวงศ์ย้าย ซิสเตอร์สุภาภรณ์ แตงอ่อน ทำหน้าที่ผู้จัดการ จำนวนห้องเรียน 26 ห้องเรียน จำนววนนักเรียน 1,063 คน เปิดสอนชั้น ป.1 ถึง ม.ศ. 3 |
ปี 2510 โรงเรียนคงสภาพเดิม จำนวนห้องเรียน 26 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 1,072 คน เปิดสอนชั้นป.1 ถึง ม.ศ. 3 |